บทความเกี่ยวกับ IT


ผู้ประกอบธุรกิจที่จะพัฒนาธุรกิจของตนเองให้เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ โดยเข้ารับการอบรม   FranchiseB2B รุ่นปัจจุบันที่กำลังฝึกอบรมในปีนี้ คือรุ่นที่ 14 ขณะนี้ได้รับสมัครและเริ่มฝึกอบรมกันไปแล้วเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2555 นี้นะคะ  ท่านที่สนใจสมัครต้องรอปีหน้าแล้วละค่ะ แต่มีหลักสูตรสำหรับผู้บริหารธุรกิจแฟรนไชส์ ยังสามารถสมัครเพิ่มเติมได้ค่ะ ดูใบสมัครในเว็บเราแล้ว fax มาที่ 025475952 นะคะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-5475953   xxxxx

ค้นข้อมูลเฟรนไซส์ซอร์
ค้นจากทั้งหมด
ตามชื่อธุรกิจ ตามชื่อ-สกุล
ตามหมวดธุรกิจ
ตามวงเงิน
ป้อนชื่อ-สกุล

ป้อนอิเมล์

รหัสอ้างอิง


ตาม IP : 3312 ท่าน

วันนี้ : 76 ครั้ง
เดือนนี้ : 4,143 ครั้ง
ทั้งหมด : 4,123,353 ครั้ง

ผู้เยี่ยมชมขณะนี้ 10 ท่าน
  • 44.220.184.63
  • 44.220.184.63
  • 44.220.184.63
  • 44.220.184.63
  • 44.220.184.63
  • 44.220.184.63
  • 44.220.184.63
  • 44.220.184.63
  • 44.220.184.63
  • 44.220.184.63


  •    แฟรนไชส์กับความศรัทธา

            ความศรัทธา คือ ความจริงของการตลาดสมัยใหม่ สิ่งที่จะช่วยให้แม่บ้านคนหนึ่งกล้าซื้ออาหารสำเร็จรูปโดยมั่นใจได้ว่าสมาชิกในบ้านทุกคนจะพออกพอใจกับการตัดสินใจซื้อครั้งนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องเล็ก วันนี้จะมีอะไรเป็นเครื่องมือที่จะช่วยแม่บ้านคนนี้จับจ่าย ถ้าไม่ใช่เรื่องของตราสินค้าและศรัทธาต่อคุณภาพที่สม่ำเสมอ มีข้อสังเกตที่เขาบอกว่า ธุรกิจสาขาที่เป็นร้านอาหาร ถ้าอะไรไม่อร่อยต้องทำให้ไม่อร่อยคงที่ ทุกๆ สาขา นั่นคือจะได้มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องของความอร่อย แต่เป็นเรื่องของความคาดหมายของลูกค้า เมื่อไรที่ลูกค้าเริ่มเรียนรู้ว่าจะได้อะไรจากสิ่งที่เขาซื้อหา เขาก็จะจดจำ ถ้าเป็นเรื่องที่สร้างความพอใจได้ทางใดทางหนึ่งจริง จึงจะเกิดความศรัทธายึดมั่นในตราสินค้านั้นๆ

            สินค้าบางชนิดสามารถสร้างนิสัยและบุคลิกภาพให้กับผู้ใช้ 

            แฟรนไชส์กับระบบศรัทธาที่ได้จากมาตรฐานของทุกๆ สาขา การสร้างการจดจำตราสินค้า เน้นการนำเสนออย่างชัดเจนว่าจะได้อะไร เมื่อเข้าร้านสาขาในกลุ่มเดียวกัน ที่ผ่านมาธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยอาศัยการสร้างชื่อเสียงและความศรัทธาด้วยตัวเอง การสร้างการรับรู้ที่ต้องอาศัยความเชื่อความศรัทธาเป็นเรื่องยาก การสร้างภาพด้วยการโฆษณาไม่เพียงพอ นี่คือเหตุที่ร้านค้าขายทั่วไปจึงแสวงหาเครื่องหมายที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ เช่น เครื่องหมายรับรอง ตราประกันคุณภาพ จนกระทั่งถึงเรื่องการตรวจมาตรฐานต่างๆ เครื่องมือที่จะบอกว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดำเนินการอยู่นั้นมีความน่าเชื่อถือ หรือทำแล้วธุรกิจจะมีกำไรหรือไม่นั้นยังไม่มี ก่อนลงทุนทุกคนต้องหาความรู้ และศึกษาอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นการดีมาก ถ้าหากมีทีมงานที่มีความชำนาญได้ศึกษาและให้ความคิดเห็นไว้ 

             ความเข้มแข็งของบริษัทแม่หรือผู้สร้างระบบแฟรนไชส์คือสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างดี ตั้งใจพัฒนาให้กับบริษัทสมาชิกอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นจะอยู่รอดได้ การสร้างระบบแฟรนไชส์ให้เข้มแข็งต้องมีแฟรนไชส์ซอร์ที่เข้มแข็งก่อน

              ทุกปี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีโครงการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ โดยจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ และเข้าร่วมเป็นสมาชิก FranchiseB2B Thailand ปัจจุบันมีสมาชิกแฟรนไชส์ซอร์ที่ผ่านการอบรมจากโครงการมากกว่า 300 กิจการ จัดทำโดย สำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีทั้งธุรกิจที่จะพัฒนาให้สามารถประกอบการเป็นระบบแฟรนไชส์ และธุรกิจที่ต้องการขยายไปต่างประเทศ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านแฟรนไชส์ มาช่วยสร้างระบบแฟรนไชส์ให้เป็นไปอย่างมีมาตรฐานและความเป็นสากลให้กับธุรกิจไทย

    13 กรกฎาคม 2549  |   จำนวนผู้เปิดอ่าน 13351 ครั้ง


    อ่านทั้งหมด


  • ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ชื่อ-สกุล : E-mail :
    รายละเอียด :
    รหัสอ้างอิง :
  • ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ลำดับ รายละเอียด
  • หน้าหลัก | FRANCHISE B2B | โครงการอบรม | ข่าวสาร/กิจกรรม | แฟรนไซส์ซอร์ | สมัครสมาชิก | ติดต่อเรา แฟรนไซส์ บีทูบี   
    กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 44/100 นนทบุรี 1 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000   
    โทร. 02-5475952-3   สายด่วน 1570   
    E-mail : info@franchiseb2b.net | Check Mail |