บทความเกี่ยวกับ IT


ผู้ประกอบธุรกิจที่จะพัฒนาธุรกิจของตนเองให้เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ โดยเข้ารับการอบรม   FranchiseB2B รุ่นปัจจุบันที่กำลังฝึกอบรมในปีนี้ คือรุ่นที่ 14 ขณะนี้ได้รับสมัครและเริ่มฝึกอบรมกันไปแล้วเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2555 นี้นะคะ  ท่านที่สนใจสมัครต้องรอปีหน้าแล้วละค่ะ แต่มีหลักสูตรสำหรับผู้บริหารธุรกิจแฟรนไชส์ ยังสามารถสมัครเพิ่มเติมได้ค่ะ ดูใบสมัครในเว็บเราแล้ว fax มาที่ 025475952 นะคะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-5475953   xxxxx

ค้นข้อมูลเฟรนไซส์ซอร์
ค้นจากทั้งหมด
ตามชื่อธุรกิจ ตามชื่อ-สกุล
ตามหมวดธุรกิจ
ตามวงเงิน
ป้อนชื่อ-สกุล

ป้อนอิเมล์

รหัสอ้างอิง


ตาม IP : 3312 ท่าน

วันนี้ : 48 ครั้ง
เดือนนี้ : 4,087 ครั้ง
ทั้งหมด : 4,123,297 ครั้ง

ผู้เยี่ยมชมขณะนี้ 4 ท่าน
  • 44.220.184.63
  • 44.220.184.63
  • 44.220.184.63
  • 44.220.184.63



  •                     เมื่อกล่าวถึงระบบแฟรนไชส์ หลายท่านคงรู้จักดีในวงการธุรกิจ หากท่านใดไม่ทราบแต่ถ้าเอ่ยถึงธุรกิจประเภทเซเว่นอีเลฟเว่น แมคโดนัล เคเอฟซี คงพอทราบกันบ้าง คำว่าแฟรนไชส์ เริ่มแพร่เข้ามาในประเทศไทยเราเมื่อ 15-20 ปีมาแล้ว เริ่มเป็นจุดสนใจของนักธุรกิจไทย เช่น ร้านแมคโดนัล สาขาแรกที่อัมรินทร์พลาซ่าเปิด ให้บริการมีชาวต่างชาติชาวรัสเซียเข้ามาชิมรสชาติของแฮมเบอร์เกอร์ของร้านแมคโดนัล จากอเมริกา โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติแต่อย่างใด ซึ่งแมคโดนัลได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค ประเทศไทยก็มิอาจรอดพ้นกระแสแห่งทางตะวันตกได้อย่างรวดเร็วและกระแสธุรกิจแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ในช่วงแรกบ้านเราไม่ค่อยรู้จักกันมากนักแต่อาจรู้จักกับนักธุรกิจหรือผู้คนที่ได้ไปต่างประเทศมาบ้าง คนไทยเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่พอทราบเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์ ส่วนมากก็เป็นกลุ่มนักลงทุนใหญ่ที่มีฐานะการเงินดี จนกระทั่งร้านสะดวกซื้อ หรือที่เรียกว่า Convenient Store ในรูปแบบแฟรนไชส์ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เริ่มเปิดในเมืองไทย ดูจะเป็นแฟรนไชส์แรกที่เริ่มเข้ามาขยายกิจการ หลายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์ ซึ่งได้แตกต่างจากประเทศอเมริกา ที่มักเป็นธุรกิจประเภท Fast Food การเป็นธุรกิจที่มีตลาดค่อนข้างกว้าง ทุกเพศ ทุกวัย ที่มีลักษณะธุรกิจค่อนข้างง่าย และจึงเกิดขึ้นหลายสาขาในปัจจุบัน ตามตรอกซอกซอย จุดนี้เองทำให้เซเว่นอีเลฟเว่นมีความสำเร็จ มีการขยายตัวสูงขึ้น มีความต้องการทางด้านธุรกิจมากขึ้น จึงทำให้คนไทยเริ่มมีความสนใจมากขึ้น

                        แฟรนไชส์ (Franchising) เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่า มีประสิทธิภาพมากในการใช้เพื่อขยายธุรกิจ เจ้าของที่ดีมีความรู้ และประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแต่ขาดทุนทรัพย์ สามารถขยายธุรกิจแบบที่ตนทำมาและประสบความสำเร็จโดยร่วมกับผู้อื่น บุคคลทั่วไปที่เข้ามาในระบบแฟรนไชส์เรียกว่า แฟรนไชส์ซี (Franchisees) สาเหตุที่แฟรนไชส์เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ พอกล่าวได้ว่าแฟรนไชส์เป็นกลยุทธ์ที่รวมเอาข้อดีของทางธุรกิจขนาดใหญ่และเล็กเข้าด้วยกัน ด้วยภาพพจน์ ระบบงาน การสนับสนุน ล้วนแต่ได้มาจากธุรกิจขนาดใหญ่ คือ การมารวมตัวกันภายใต้เครื่องหมายและระบบอย่างเดียวกันของแฟรนไชส์



                        แฟรนไชส์โดยเฉพาะธุรกิจอาหารที่เป็นระบบ Quick Service หรือ Fast Food เริ่มเกิดขึ้น และขยายตัวที่ต่อมาเรียกว่าBusiness Format Franchising ที่เป็นที่รู้จักและเติบโต มาถึงปัจจุบัน คือ แฟรนไชส์แมคโดนัล โดย Mr.Ray Kroc ลักษณะของระบบแฟรนไชส์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • Product and Brand Franchising ลักษณะแฟรนไชส์ระบบนี้มีลักษณะ คือ การที่ผู้ ผลิตสินค้าให้สิทธิบุคคลอื่นในการขยายสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยแฟรนไชส์

  • Business Format Franchising ลักษณะนี้เป็นการให้สิทธิบุคคลอื่นในการดำเนิน ธุรกิจเพื่อขายสินค้าหรือบริการโดยใช้เครื่องหมายการค้าของแฟรนไชส์ซอร์ และสิ่งสำคัญที่ต่างจากประเภทแรกคือการใช้ระบบการดำเนินธุรกิจที่พิสูจน์แล้วของแฟรนไชส์ซอร์

  • Conversion Franchising เป็นระบบแฟรนไชส์ที่พัฒนามาจากแฟรนไชส์ประเภท Business Format โดยการออกแบบระบบเพื่อเปลี่ยนร้านค้าอิสระที่มีอยู่ในระบบนั้นๆให้เข้ามาร่วมในระบบแฟรนไชส์ เพื่อได้ประโยชน์ร่วมกันทางการค้าและทำโฆษณาร่วมกันในระดับประเทศ เช่น Century 21



  • ข้อดีของระบบแฟรนไชส์

  • ความรู้หรือ Know-how คือความรู้ในการประกอบธุรกิจทั้งหมดที่ทาง แฟรนไชส์ซอร์ได้ดำเนินการมาจนประสบความสำเร็จและเป็นที่พิสูจน์แล้ว ด้วยความรู้นี้ทำให้แฟรนไชส์ซี มีโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจที่ดำเนินการมาได้มาก คือคุณค่าที่แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายค่าสิทธิรวมถึงการลงทุนในธุรกิจกับแฟรนไชส์ซอร์

  • เครื่องหมายการค้า ระบบแฟรนไชส์ตามปกติ แฟรนไชส์ซี ได้รับสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของแฟรนไชส์ซอร์ถ้าเป็นแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมีสาขาและคนรู้จักมากย่อมทำให้ผู้ซื้อทำการตลาดต่อได้ง่าย

  • การสนับสนุนและการควบคุม ระบบแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซีจะได้รับการสนับสนุนทางด้านต่างๆ จากแฟรนไชส์ซอร์เช่นการอบรม การสนับสนุนด้านอุปกรณ์ วัตถุดิบ การตลาด การโฆษณา สิ่งสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่กระทำควบคู่และได้ประโยชน์ต่อแฟรนไชส์ซีคือการควบคุม การควบคุมมีประโยชน์มากเพราะการเป็นแฟรนไชส์ทุกคนควรอยู่ในระบบเดียวกัน การควบคุมช่วยให้แฟรนไชส์ซีมีคนคอยเตือนการทำงาน ดังนั้นจึงมีคนกล่าวเสมอว่า “หากท่านไม่สามารถทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จแล้ว การประกอบธุรกิจอิสระให้ประสบความสำเร็จก็คงเป็นเรื่องที่ยากกว่าแน่นอน”

  • อำนาจต่อรองในการซื้อสินค้า ระบบแฟรนไชส์ที่ช่วยแก้ข้อเสียหายหลายต่อหลายอย่างของธุรกิจขนาดเล็กไม่ว่าจะเป็นเงินทุน บุคลากร ด้านบริการ สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดโอกาสขยายตัวได้อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพลังการต่อรองที่สูงขึ้น อำนาจการต่อรองก่อเกิดประโยชน์ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีในระบบแฟรนไชส์ เห็นเด่นชัดที่สุดคือ ต้นทุนและวัตถุดิบ หรืออุปกรณ์ในการดำเนินธุรกิจซึ่งแฟรนไชส์ซีสามารถหาซื้อได้จากผู้ผลิตที่แฟรนไชส์ซอร์อนุมัติ ด้วยราคาที่มีส่วนลด

  • ข้อเสียของระบบแฟรนไชส์

  • เงินทุน ในการจัดตั้งธุรกิจส่วนใหญ่จะต้องใช้เงินลงทุน มากในช่วงแรก เนื่องจากค่าความรู้ หรือระบบของแฟรนไชส์ซอร์แต่หากได้ระบบแฟรนไชส์หรือความรู้ที่ดีจริงและท่านมีความสามารถด้วย ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้มากและเร็วกว่าธุรกิจอิสระ

  • ความไม่เป็นอิสระ ระบบแฟรนไชส์ เป็นระบบธุรกิจที่ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีเครื่องหมายการค้าเดียวกัน และแฟรนไชส์ซอร์ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยระบบของเขา ย่อมทำให้แฟรนไชส์ซอร์มีความมั่นใจในระบบของตนเอง และจำเป็นต้องควบคุมงานต่างๆให้มีมาตรฐานในทุกสาขาที่ขยายตัวออกไป ทำให้แฟรนไชส์ซี ขาดความเป็นอิสระในการประกอบธุรกิจ ต้องปฏิบัติตามนโยบาย ระบบที่แฟรนไชส์ซอร์วางไว้เท่านั้น

  • ผลกระทบจากภาพพจน์ที่เสีย เป็นผลมาจากความเป็นหนึ่งของภาพพจน์ในระบบแฟรนไชส์เนื่องจากมีมาตรฐานเดียวกัน ถ้าผู้ที่ร่วมอยู่ในแฟรนไชส์มีผลประกอบที่ดี เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคผลดีของภาพพจน์ก็ดีด้วย แต่หากเกิดภาพพจน์ที่เสียหายด้านใดด้านหนึ่ง จากคนใดคนหนึ่งที่เป็นแฟรนไชส์ซีแล้ว ผลเสียของสาขาอื่นก็อาจส่งผลกระทบมาถึงทั้งหมดของระบบ

  • การสูญเสียความลับ เพราะแฟรนไชส์เป็นเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์และเคล็ดลับในการดำเนินธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ให้กับแฟรนไชส์ซีเพื่อแรกกับเงินทุนและค่าสิทธิต่างๆ ความขัดแย้งต่างๆระหว่างสองฝ่ายอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา หากแฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์ที่มีต่อแฟรนไชส์ซีได้ ข้อเสียในเรื่องการสูญเสียความลับนี้อาจเกิดขึ้นได้จากความแตกแยก อันนำไปสู่การเกิดคู่แข่งขันทางการตลาด



  •                     ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ถ้านับจำนวนประเภทแล้ว ธุรกิจที่เป็นอาหารและเครื่องดื่ม มีจำนวนมากที่สุด กว่า 40% เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหาร ธุรกิจด้านบริการของไทยที่เป็นระบบแฟรนไชส์ยังไม่มากนัก และมีจำนวนมากที่เป็นด้านการศึกษา แนวโน้มของธุรกิจแฟรนไชส์ของโลก ก็มีการคาดการณ์ว่า แฟรนไชส์การบริการจะมีขนาดตลาดที่กว้างมากกว่า และแฟรนไชส์ด้านอาหารเริ่มมีการแข่งขันกันมากเกินไป ดังนั้นในช่วงต่อไปธุรกิจแฟรนไชส์ด้านการบริการจะมีการพัฒนามากขึ้น สำหรับประเทศไทยแนวโน้ม ธุรกิจด้าน อาหารที่เน้นสุขภาพ จะเป็นแนวหลักของการพัฒนา ตามด้วยธุรกิจด้านการบริการ ที่เน้นการซ่อมบำรุง และยังคงมีธุรกิจด้านการศึกษา ที่ยังนับเป็นธุรกิจที่ไปได้ นอกจากนั้นรูปแบบการทำธุรกิจที่สร้างกิจกรรมร่วมกันจะมีมากขึ้น การสร้างและพัฒนาพื้นที่สำหรับการเปิดสาขาจะเป็นจุดเปลี่ยนที่น่าสังเกตอีกด้าน ภาพโดยรวมของธุรกิจแฟรนไชส์ยังดูสดใส ถ้ายังช่วยกันประคองให้เติบโตอย่างถูกต้อง มีการช่วยเหลือและสร้างบรรทัดฐานการประกอบการที่ดี ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์

    ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับแฟรนไชส์
  • Franchise (แฟรนไชส์) คือ ข้อตกลงระหว่างเจ้าของธุรกิจ อนุญาตให้ผู้ขอรับสิทธิ ดำเนินธุรกิจและบริการภายใต้ชื่อการค้าของตนและปฎิบัติการทำธุรกิจของเจ้าของสิทธิตามสัญญาที่ตกลงกันไว้
  • Franchising (แฟรนไชส์ซิ่ง) คือวิธีการในการดำเนินธุรกิจโดยจะประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 ฝ่ายคือเจ้าของสิทธิในธุรกิจนั้นๆ หรือที่เรียกกันว่าแฟรนไชส์ซอร์ และผู้ขอรับสิทธิในการดำเนินธุรกิจหรือที่เรียกว่าแฟรนไชส์ซี
  • Franchisor (แฟรนไชส์ซอร์) คือเจ้าของธุรกิจซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นได้ใช้สิทธิในการดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อของตน ซึ่งก็คือผู้ขายแฟรนไชส์นั่นเอง
  • Franchise (แฟรนไชส์ซี) คือ ผู้ขอซื้อแฟรนไชส์หรือ ผู้ขอรับซื้อธุรกิจจากเจ้าของธุรกิจที่มีความประสงค์ให้ผู้อื่นมาดำเนินการภายใต้ชื่อของตนนั่นเอง
  • Franchise Fee (แฟรนไชส์ฟี) คือ เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ จะต้องจ่ายให้กับผู้ขายแฟรนไชส์ในลักษณะที่เรียกว่าเป็น “ค่าแรกเข้า” ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการจ่ายเพียงครั้งเดียวในช่วงเริ่มดำเนินกิจการครั้งแรก
  • Royalty Fee (รอยัลตี้ฟี) เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ขายแฟรนไชส์เรียกเก็บจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ซึ่งโดยมากมักจะคิดเป็นสัดส่วน จากผลการประกอบการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ อาทิเช่น เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน
  • Advertising Fee (เอดเวอร์ไทซิ่ง ฟี) เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายให้กับผู้ขายแฟรนไชส์ เพื่อไปใช้ดำเนินการในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งโดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับผู้ขายแฟรนไชส์ว่าจะเรียกเก็บหรือไม่ และมีรูปแบบเรียกเก็บแตกต่างกันไป เช่น เก็บเป็นรายเดือน หรือเก็บเป็นรายปี โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย
  • Operation Manual (โอเปอเรชั่น แมนวล) คู่มือการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเขียนขึ้นโดยผู้ขายแฟรนไชส์ เพื่อแนะนำถึงขั้นตอนต่างๆ ในการทำงาน และการทำธุรกิจสำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยปกติแล้ว Operation Manual ให้ข้อมูลที่ครอบคลุมในทุกๆ ด้านของธุรกิจนั้นๆ ซึ่งอาจมีเพียงเล่มเดียว หรือหลายเล่มก็ได้
  • หน้าหลัก | FRANCHISE B2B | โครงการอบรม | ข่าวสาร/กิจกรรม | แฟรนไซส์ซอร์ | สมัครสมาชิก | ติดต่อเรา แฟรนไซส์ บีทูบี   
    กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 44/100 นนทบุรี 1 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000   
    โทร. 02-5475952-3   สายด่วน 1570   
    E-mail : info@franchiseb2b.net | Check Mail |