ผู้ประกอบธุรกิจที่จะพัฒนาธุรกิจของตนเองให้เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ โดยเข้ารับการอบรม FranchiseB2B รุ่นปัจจุบันที่กำลังฝึกอบรมในปีนี้ คือรุ่นที่ 14 ขณะนี้ได้รับสมัครและเริ่มฝึกอบรมกันไปแล้วเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2555 นี้นะคะ ท่านที่สนใจสมัครต้องรอปีหน้าแล้วละค่ะ แต่มีหลักสูตรสำหรับผู้บริหารธุรกิจแฟรนไชส์ ยังสามารถสมัครเพิ่มเติมได้ค่ะ ดูใบสมัครในเว็บเราแล้ว fax มาที่ 025475952 นะคะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-5475953 xxxxx
กระแสแฟรนไชส์
การผลักดันระบบธุรกิจอนาคตด้วยคำว่า แฟรนไชส์ ที่เป็นรูปแบบการทำงานแบบประสานประโยชน์ของกลุ่มสมาชิกและมีการสร้างระบบงาน การจัดการอย่างมีขั้นตอนโดยบริษัทแม่เป็นผู้รักษามาตรฐานของระบบงานและคุณภาพ ภาพพจน์โดยรวม ซึ่งต้องเกิดค่าใช้จ่าย ด้วยเหตุนี้สมาชิกในระบบแฟรนไชส์จะต้องแบ่งกันออกค่าใช้จ่าย เป็นรูปของการจ่ายค่าธรรมเนียม (Fee) ที่เรียกว่า ค่ารอยัลตี้ (Royalty) หรือแปลตรงๆ ว่า ค่าภักดี เป็นค่าที่สมาชิกต้องจ่าย ซึ่งโดยทั่วไปจ่ายเป็นรายเดือน
การสร้างระบบแฟรนไชส์ อย่างไรก็ยังเป็นธุรกิจที่มุ่งหวังกำไร แต่เป็นการสร้างกำไรด้วยความยุติธรรมทุกฝ่าย และคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจ จุดสำคัญคือความจริงใจต่อสมาชิก เมื่อทำงานในระบบเดียวกัน ไม่จริงใจ ไม่เปิดเผย ไม่นานก็พังทั้งระบบ
การสร้างระบบงานแฟรนไชส์จะไม่จบแค่เพียงการขายแฟรนไชส์ ด้วยการเก็บค่าแรกเข้าแล้วสิ้นสุด หน้าที่ของเจ้าของตราสินค้า หรือ เจ้าของระบบธุรกิจ ที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซอร์ จะมีหน้าที่ประคองรักษาระบบงานทุกด้าน คอยสนับสนุน และสร้างความสำเร็จให้ระบบงานในแต่ละสาขา โดยที่มีผู้ร่วมลงทุนในระบบเป็นสมาชิก ที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซี เป็นผู้ร่วมลงแรงด้วยความตั้งใจ ระบบทั้งระบบจะเดินไปด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ความผูกพันระหว่างสาขาที่จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ มีสินค้าหรือธุรกิจเป็นตัวเชื่อมโยง ทุกอย่างในธุรกิจจะอยู่บนมาตรฐานและความสำเร็จร่วมกัน
การดำเนินการดังกล่าวต้องมีค่าใช้จ่าย ถ้ามีใครมาบอกว่า แฟรนไชส์ของเขาไม่มีค่าธรรมเนียม ไม่เก็บค่าแรกเข้า จะคิดอย่างไร เชื่อหรือไม่
อาจเป็นไปได้ที่จะมีระบบงานแฟรนไชส์แบบใหม่ที่ไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า แต่จะเก็บจากยอดขายภายหลัง อย่างไรก็ตามต้องแน่ใจว่า เจ้าของระบบแฟรนไชส์จะรักษาความเป็นธุรกิจที่มีมาตรฐาน จะคอยบริหารสาขาโดยมีงบสนับสนุนมาจากส่วนใด หากเป็นการซ่อนค่าใช้จ่ายไว้ในสินค้าวัตถุดิบ แล้วในระยะยาวถ้ามีใครลดต้นทุนโดยซื้อของจากที่อื่น ลดคุณภาพสินค้า ทำให้ภาพพจน์โดยรวมของทุกคนในระบบเสียหายได้หรือไม่
หรือมีตัวอย่าง ขายแฟรนไชส์กันแล้ว โบกมืออำลากันในวันรุ่งขึ้น โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติม และไม่มาดูแลเอาใจใส่แฟรนไชส์ซี อย่างนี้มีให้เห็นมากในตลาด
การสร้างระบบแฟรนไชส์แบบนี้ต้องระวัง คิดให้ดี เราต้องการระบบธุรกิจที่ให้ความสำเร็จทั้งระยะสั้นและระยะยาว เสียเงินแล้วควรได้มาตรฐานด้วย